เกี่ยวกับสำนัก
ก่อตั้งขึ้นภายใต้ความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน ในปี พ.ศ. 2523 ในชื่อแรกเริ่มว่า โครงการพัฒนาสื่อการเรียนการสอนไทยเยอรมัน (Thai-German Teaching Aids Center : TGTAC) โดยความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ทั้งนี้ด้วยความร่วมมือสนับสนุนจากองค์กรความร่วมมือทางเทคนิคแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน (Deutsch Gesellschaft fur Technische Zusammenarbeit : GTZ) โดยมีจุดมุ่งหมายสูงสุดให้ผู้สำเร็จจากระบบอาชีวะและเทคนิคศึกษา มีทักษะและความสามารถในการประกอบอาชีพด้านอุตสาหกรรม ซึ่งได้ปรับปรุงคุณภาพของระบบการเรียนการสอนในสถาบันอาชีวะและเทคนิคศึกษา โดยวัตถุประสงค์สำคัญ คือ ครูช่างใช้สื่อการเรียนการสอนที่เหมาะสมอย่างมีประสิทธิภาพ เพิ่มขึ้นภายในปี พ.ศ. 2532 จากจุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์ดังกล่าว สำนักได้ดำเนินการออกแบบพัฒนาสื่อต้นแบบและส่งเสริมการนำไปใช้พัฒนาบุคลากรด้านสื่อการเรียนการสอน วิจัยสื่อและพัฒนานักวิจัยที่เกี่ยวข้อง และจัดระบบการจัดการอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน
ปรัชญา :
พัฒนาคน พัฒนาสื่อและเทคโนโลยีทางการศึกษา
วิสัยทัศน์ :
เป็นเลิศด้านสื่อและเทคโนโลยีทางการศึกษา
พันธกิจ :
พัฒนาและผลิตผลงานทางวิชาการด้านสื่อและเทคโนโลยีทางการศึกษา การวิจัย การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การรับรองสมรรถนะบุคคลตามมาตรฐานอาชีพ และการบริการวิชาการให้เป็นที่ยอมรับของสถาบันการศึกษาและภาคอุตสาหกรรม
ค่านิยม :
คิดสร้างสรรค์ มุ่งมั่นพัฒนา ตรงต่อเวลา นำพาสู่ความเป็นเลิศ
เอกลักษณ์ :
องค์กรแห่งการพัฒนาสื่อและเทคโนโลยีทางการศึกษา
อัตลักษณ์ :
สร้างสรรค์สื่อและเทคโนโลยีทางการศึกษาที่มีคุณภาพและได้มาตรฐาน
1. ด้านการพัฒนาการบริหารจัดการ สนับสนุนและส่งเสริมการบริหารงานของสำนักฯ ให้เกิดประสิทธิผลและประสิทธิภาพสูงสุดตามแนวทาง Thailand 4.0
- บริหารงานโดยยึดหลักธรรมาภิบาล ถูกต้อง โปร่งใส และตรวจสอบได้
- ใช้ระบบ Lean เพื่อบริหารจัดการทรัพยากรให้เหมาะสมกับปริมาณงาน
- สนับสนุนการใช้ทรัพยากรร่วมกันของหน่วยงานและส่วนงานภายในมหาวิทยาลัย
- สนับสนุนการดำเนินงานตามแนวทางของมหาวิทยาลัยสีเขียว (Green University)
- พัฒนางานประชาสัมพันธ์และการตลาดของสำนักฯ ให้มีศักยภาพเชิงรุกเพิ่มขึ้น
- สร้างเครือข่ายทั้งภายในมหาวิทยาลัยและภายนอกทั้งภาครัฐ เอกชน และหน่วยงานทางการศึกษาทุกระดับ
- สนับสนุนให้เกิดการสร้างบรรยากาศในการทำงาน การสร้างแรงจูงใจ และการสร้างขวัญและกำลังใจ เพื่อให้บุคลากรของสำนักฯ สามารถผลิตงานตามพันธกิจที่มีคุณภาพ
- สนับสนุนการดำเนินงานของมหาวิทยาลัย โดยเฉพาะการมีส่วนร่วมในการช่วยให้มหาวิทยาลัย มีอันดับใน World University Ranking ที่ดีขึ้น
2. ด้านการพัฒนาบุคลากร สนับสนุนและส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาคน พัฒนาเทคโนโลยี พัฒนาสถานที่ และพัฒนางานตามพันธกิจ รองรับ Thailand 4.0
- พัฒนาศักยภาพบุคลากรของสำนักฯ ให้มีความรู้ความสามารถในการดำเนินการตามพันธกิจของสำนักฯ และสอดคล้องกับนโยบาย Thailand 4.0
- พัฒนาศักยภาพบุคลากรของสำนักฯ ให้มีความรู้เพิ่มเติม นอกเหนือจากความรู้ในงานตามพันธกิจ เช่น ความรู้ด้านภาษาต่างประเทศ เพื่อรับรองการพัฒนาสำนักฯ ให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล
- นำเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับงานตามพันธกิจ และสอดคล้องกับนโยบาย Thailand 4.0 เข้ามาใช้งาน โดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง
- ปรับปรุงสถานที่ให้เหมาะสมและปลอดภัย เพื่อรองรับการดำเนินการตามพันธกิจของสำนักฯ และสอดคล้องกับนโยบาย Thailand 4.0
- สนับสนุนให้เกิดการพัฒนางานตามพันธกิจ โดยมีการดำเนินงานแบบครบวงจร PDCA
3. ด้านการพัฒนาสื่อการเรียนการสอน ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาสื่อการเรียนการสอนให้มีความทันสมัย มีคุณภาพ เป็นที่ยอมรับของผู้มาใช้บริการ
- ส่งเสริมให้มีการวิจัยและพัฒนารูปแบบสื่อที่รองรับกับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลง
- แสวงหาความร่วมมือกับภาคเอกชนในการผลิตและจำหน่ายสื่อเชิงพาณิชย์
- ส่งเสริมการปรับปรุงกระบวนการออกแบบและผลิตสื่อการเรียนการสอนให้ได้คุณภาพตามมาตรฐาน ISO 9001
- ส่งเสริมการปรับปรุงเพื่อการลดต้นทุนในการผลิตสื่อการเรียนการสอน
4.ด้านการบริการวิชาการ ส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลากรใช้ศักยภาพแบบสหวิทยาการในการให้บริการวิชาการ
- ส่งเสริมให้บุคลากรมีการบริการวิจัยทางด้านการศึกษาและเทคโนโลยี
- ส่งเสริมการบริการการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาบุคลากรในสถานศึกษาและสถานประกอบการ
- ส่งเสริมการบริการการพัฒนามาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพในสาขาอาชีพต่าง ๆ
- ส่งเสริมการบริการการผลิตสื่อ การฝึกอบรมตามความต้องการของสถานศึกษาและสถานประกอบการ
5.ด้านการประกันคุณภาพการศึกษา ส่งเสริมและสนับสนุนการประกันคุณภาพการศึกษา เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารคุณภาพและพัฒนาหน่วยงาน
- จัดให้มีระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาภายในให้สอดคล้องกับแนวทางการประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ และเกณฑ์มาตรฐานของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)
- ส่งเสริมให้ทุกหน่วยงานนำระบบประกันคุณภาพการศึกษา เข้าเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินการบริหารการศึกษาที่ต้องดำเนินการและสอดคล้องกับระบบ ISO
- พัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ด้านการประกันคุณภาพการศึกษาอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง ตลอดจนส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย
- กำหนดให้ทุกหน่วยงานมีส่วนร่วมรับผิดชอบในการดำเนินกิจกรรมประกันคุณภาพการศึกษาภายในและจัดทำรายงานการประเมินตนเอง เพื่อรองรับการประเมินคุณภาพจากหน่วยงานภายนอก
- เพื่อออกแบบพัฒนาสื่อทางด้านเทคโนโลยีทางการศึกษา
- เพื่อวิจัยและพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีทางการศึกษา
- เพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ทางด้านเทคโนโลยีทางการศึกษา
- เพื่อสร้างเครือข่ายการให้บริการวิชาการทางด้านเทคโนโลยีทางการศึกษา
- เพื่อการประกันคุณภาพการศึกษาและพัฒนาระบบคุณภาพ
- เพื่ออนุรักษ์และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมของชาติ
